ชื่อนี้มีที่มา ตามหาจุดกำเนิดทะเลใน 500 ไร่
ชื่อนี้มีที่มา ตามหาจุดกำเนิดทะเลใน 500 ไร่
สำหรับใครที่นึกฝันถึงการผจญภัยเล็ก ๆ ท่ามกลางบรรยากาศบริสุทธิ์ งดงามของผืนน้ำ ภูเขา และท้องฟ้า ...เขื่อนเชี่ยวหลาน... น่าจะเป็นจุด หมายปลายทางในฝัน ตอบโจทย์นักเดินทางที่ต้องการหลบความ วุ่นวายของเมืองใหญ่ มาพักใจให้ธรรมชาติช่วยเยียวยาและปลอบโยน
และใครที่มาเยี่ยมเยือนเขื่อนเชี่ยวหลาน ก็คงไม่พลาดที่จะไปแวะชม “ทะเลใน 500 ไร่” ทะเลสาบปิดที่โอบล้อมด้วยหมู่เขาหินปูน 360 องศา ท้าทายให้นักเดินทางต้องดั้นด้นพาสองเท้าก้าวข้ามป่าผืนกว้าง เพื่อจะ ได้สัมผัสภาพของเวิ้งน้ำสีเขียว Viridian นิ่งสงบ และโลกที่ดูจะหมุน เพียงช้า ๆ ให้เราได้ซึมซับภาพความสวยงามของธรรมชาติได้อย่างเต็ม ที่
หลายคนอาจจะเคยตั้งคำถามถึงจุดกำเนิดของ “ทะเลใน 500 ไร่” ว่า ทำไมถึงกลายเป็นทะเลสาบขนาดเล็กที่ซ่อนอยู่ในทะเลสาบเชี่ยวหลาน อันกว้างใหญ่อีกที และสำหรับคำตอบนั้น คงต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีการปิดกั้นลำน้ำคลองแสง เพื่อกักน้ำให้ค่อย ๆ ท่วมพื้นที่สองฝั่งคลองร่วมแสนกว่าไร่ กลายเป็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนเชี่ยว หลานหรือเขื่อนรัชชประภาที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
ใต้ผืนน้ำสีเขียวใสที่เราเห็นนั้น เดิมคือชุมชนและหมู่บ้านที่ผู้คนต้องพา กันอพยพจากไปตั้งถิ่นฐานใหม่ และคือผืนป่าอุดมสมบูรณ์ของอุทยาน แห่งชาติเขาสกและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง ซึ่งเคยเป็นบ้านของ
สัตว์ป่าหลายร้อยสายพันธุ์ หลายชีวิตในนั้นเป็นสัตว์ป่าหายากหรือใกล้ จะสูญพันธุ์ไปจากประเทศ
ในตอนนั้น แม้ว่าทีมอพยพสัตว์ป่าจะสามารถช่วยให้พวกเขาบางส่วน รอดจากการจมหายไปกับน้ำ แต่ก็เหลือเพียงไม่มากที่สามารถปรับตัว อยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
ช้างป่า และ กระทิง บิ๊กเบิ้มแห่งพงไพร จะเหลือรอดอยู่เท่าไหร่ เมื่อ แหล่งหากินที่เคยกว้างขวางครอบคลุมสองฝั่งคลองแสง ถูกจำกัดพื้นที่ เหลือเพียงนิดเดียว
เลียงผาหลายตัว ต้องทนอดอาหารและไร้ที่หลบภัย นานเกินกว่าจะมี ชีวิตรอด
สมเสร็จตัวหนึ่ง ถูกพบเหลือเพียงซาก หลังเสียงลั่นไกของนายพรานป่า ผู้ฉวยโอกาสออกล่าในช่วงเวลาที่สัตว์เหล่านี้กำลังอ่อนแออย่างที่สุด
เช่นเดียวกับพื้นที่ทะเลใน 500 ไร่ ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ในอดีตฝังตัว เองกลายเป็นความทรงจำอยู่ใต้ผืนน้ำจนถึงทุกวันนี้เช่นกัน แต่เดิมนั้น พื้นที่นี้คือผืนป่าเขียวขจี รวมถึงสวนผลไม้ของชาวบ้านที่ทำการเกษตร เพื่อยังชีพ ด้วยลักษณะเป็นแอ่งที่มีภูเขาล้อมรอบทุกทิศทาง ดังนั้น ใน ตอนที่ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเชี่ยวหลานค่อย ๆ ท่วมสูงขึ้น น้ำจึงค่อย ๆ ไหลผ่านร่องหลืบของภูเขาหินปูนที่เป็นเพียงซอกแคบ ๆ เล็ก ๆ เข้าเติม แอ่งผืนป่าขนาด 500 ไร่นี้จนเต็ม โดยยังคงเหลือยอดเขาโผล่พ้นน้ำรอบ ด้าน กลายเป็นทะเลสาบปิดที่อยู่ด้านใน ไม่เชื่อมต่อกับทะเลสาบเชี่ยว หลานรอบนอก และเป็นที่มาของชื่อ “ทะเลใน 500 ไร่”
ทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่มาของเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับความเสียสละของผู้คน และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ รวมถึงการยอมสูญเสียแหล่งพันธุกรรมและ ความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญยิ่ง เพื่อให้ได้เขื่อนที่ยังประโยชน์ มหาศาลแก่พวกเราในปัจจุบัน และยังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติที่ได้รับการยกย่องว่ามีความสวยงามติดอันดับโลก
ทุกวันนี้ “ทะเลใน 500 ไร่” เป็นที่รู้จักและเป็นหนึ่งในโปรแกรมท่อง เที่ยวห้ามพลาดของเขื่อนเชี่ยวหลาน เสน่ห์ของทะเลสาบแห่งนี้อยู่ตรงที่ ว่า ไม่มีเรือลำไหนสามารถล่องเข้าไปถึงได้ นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายค่า ผ่านทางเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยการออกเดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ซึ่งนอกจากจะเดินง่าย ลุยด้วยกันได้ทั้ง ครอบครัวแล้ว ยังมีโอกาสได้เห็นสัตว์ป่าตัวเล็ก ๆ ออกมาทักทาย ระหว่างทางด้วย
เมื่อเส้นทางเดินป่าสิ้นสุดลง รางวัลตอบแทนที่รออยู่ตรงหน้าก็คือภาพ ของเวิ้งน้ำสีเขียว Viridian โอบล้อมด้วยหมู่เขาหินปูนรอบทิศ ระดับน้ำ ในทะเลในแห่งนี้ จะไม่ต่างจากในทะเลสาบรอบนอก เช่นเดียวกับสีสัน เขียวใสสว่างของน้ำ ก็เกิดจากแคลเซียมคาร์บอเนตที่ถูกกัดเซาะจากตัว เขาหินปูนลงมาอยู่ในน้ำ ก่อนจะสะท้อนกับแสงอาทิตย์จนเกิดเฉดสีน่า อัศจรรย์
แพไม้ไผ่เรียบง่ายรออยู่เหนือผืนน้ำนิ่งสงบ เตรียมทำหน้าที่พาเหล่านัก เดินทางสัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ด้วยการล่องผ่านใจกลาง ทะเลใน 500 ไร่ ให้ร่างกายได้ปะทะกับสายลมช้า ๆ ถึงตรงนี้ ใครจะ เลือกยกกล้องถ่ายภาพขึ้นกดชัตเตอร์ หรือเลือกบันทึกภาพความ มหัศจรรย์ของธรรมชาติไว้ด้วยสายตาก็ไม่ว่ากัน และเพียงไม่นาน แพ ไม้ไผ่จะนำเราไปถึงถ้ำปะการัง เพื่อชมหินงอกหินย้อยรูปร่างแปลกตา ถ้ำดึกดำบรรพ์แห่งนี้น่าจะเคยอยู่มาตั้งแต่หลายล้านปีก่อนเลยทีเดียว สมัยที่พื้นที่ทั้งหมดนี้ยังคมจมอยู่ใต้ท้องทะเลนั่นเอง
บริเวณทะเลใน 500 ไร่ ยังเป็นที่ทำการของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลอง แสง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ป่าประมาณ 750,000 ไร่ เจ้าหน้าที่ที่นี่คอยช่วย ดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี พวกเขายังมีบทบาท สำคัญในการอนุรักษ์ผืนป่าและสัตว์ป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่ผ่าน มา โครงการสำรวจสัตว์ป่าของสถานีวิจัยสัตว์ป่าคลองแสง ได้ติดตั้ง กล้องและอุปกรณ์ดักถ่ายภาพสัตว์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์ และสัตว์ป่า สงวนในพื้นที่เป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงตุลาคม น่าดีใจที่
ภาพของสัตว์ป่าที่บันทึกได้ สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการกระจายตัว และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
สมเสร็จ เลียงผา ช้างป่า กระทิง ที่เคยได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและ ทางอ้อมจากการปิดกั้นลำน้ำเข้าท่วมพื้นที่อ่างเก็บน้ำเชี่ยวหลานในวัน นั้น
...ลูกหลานของพวกเขาก็ปรากฏอยู่ในภาพที่บันทึกไว้ได้เช่นกัน...
เจ้าหน้าที่คาดว่าน่าจะมีจำนวนช้างป่าถึง 200 ตัว และกระทิงมากถึง 400 ตัวแล้ว สัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่บันทึกไว้ได้ ยังรวมถึงเสือลายเมฆ เสือไฟ แมวลายหินอ่อน เก้งหม้อ ทั้งยังพบร่องรอยของเสือดำและเสือดาวอีก ด้วย สัญญาณเหล่านี้คือดัชนีชี้วัดระบบนิเวศของป่า ที่ค่อย ๆ ฟื้นคืน ความอุดมสมบูรณ์ขึ้นได้ เพราะเจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ร่วมมือ กันปกป้องดูแล
หากเราได้ไปเยือน “ทะเลใน 500 ไร่” ในครั้งหน้า นอกจากจะ เพลิดเพลินกับทัศนียภาพสวยงามและรับพลังความสดชื่นจากธรรมชาติ กลับบ้านแล้ว คงจะดีไม่น้อยถ้า Hidden Gems แห่งเชี่ยวหลานแห่งนี้ จะชวนให้เราได้รำลึกถึงความเปลี่ยนแปลงตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ...ได้ ขอบคุณผู้คน พืชพันธุ์ และสัตว์ป่าในวันนั้น ที่สละตัวเองแลกกับการ สร้างเขื่อน และขอบคุณความพยายามของคนอีกมากมายในวันนี้ ที่ร่วม กันดูแลทรัพยากรป่า เพื่อสร้างให้กลับคืนมาเป็นบ้านอันอุดมสมบูรณ์ ของสัตว์ป่าต่อไป
ส่วนในวันข้างหน้า อีกสิบปี อีกร้อยปี เมื่อใครสักคนถามถึงที่มาของ ทะเลใน 500 ไร่ขึ้นมาอีกครั้ง ...พวกเขาจะได้รับการบอกเล่าและจดจำภาพของทะเลสาบแห่งนี้ อย่างไร ...ที่นี่จะกลายเป็นสวรรค์บนดินซึ่งมนุษย์และสัตว์ป่าอยู่ร่วมกันอย่างเอื้อ อารีได้หรือไม่
...คำตอบ ขึ้นอยู่กับพวกเรา...
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ททท. สำนักงานสุราษฎร์ธานี เว็บไซต์มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ Posttoday